บันทึกครั้งที่ 13 :: วันที่ 17 เมษายน 2561


"อาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก"
อาหารเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อร่างกายของมนุษย์ นับตั้งแต่ปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดาเมื่อเริ่มมีชีวิต ทารกจะได้รับอาหารผ่านทางสายรก และใช้ในการเจริญเติบโตตลอดมา
หลักของโภชนาการได้จัดแบ่งอาหารออกเป็นหมู่ได้ 5 หมู่ ได้แก่
      อาหารหมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง ช่วยสร้างเสริมและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ
อาหารหมู่ที่ 2 ข้าว หัวเผือก หัวมัน แป้ง น้ำตาล ให้พลังงานความอบอุ่น
อาหารหมู่ที่ 3 ผักใบเขียวและพืชผักต่างๆ ให้วิตามิน เกลือแร่และเส้นใย
อาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ ให้วิตามินและเกลือแร่
อาหารหมู่ที่ 5 ไขมัน น้ำมันจากพืชและสัตว์ ให้พลังงานและความอบอุ่น
  การจัดอาหารที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการให้แก่เด็ก จะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ ซึ่งเด็กต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน

อาหารที่มีโทษเป็นพิษภัยแก่เด็ก
     ปัจจุบันอาหารสำเร็จรูปสำหรับริโภคมีมากมายในตลาด ซึ่งผู้ผลิตคำนึง ถึงความสะดวกของผู้บริโภคเป็นหลัก สามารถเก็บไว้ได้นาน ในทุกอุณหภูมิ มีรสชาติถูกปากผู้บริโภค ผู้ผลิตโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อว่าอาหารนั้นๆ ดี มีคุณค่า อร่อย ทันสมัย หากผู้บริโภคหลงเชื่อโดยมิได้ไตร่ตรองหรือขาดความรู้ด้านโภชนาการ ก็จะรับประทานอาหารนั้นจนลืมคิดไปว่าการที่จะทำให้อาหารนั้นๆ คง สภาพความอร่อย ความหอม ความมัน ความหวาน คงสีสันไว้ได้ตลอด นั้นต้องอาศัยสารเคมีช่วยในการปรุงแต่งรูป รส กลิ่น และสี ให้คงเดิม วัตถุเหล่านี้เองที่เป็นอันตรายได้ 

ปัญหาการขาดสารอาหารและการแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารในเด็ก
     การขาดสารอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งจากความบกพร่องของการบริโภค อาหาร จะทำให้เกิดอาการผิดปกติของร่างกายกลายเป็นโรคขาดสารอาหาร ยิ่งเมื่อเกิดในเด็กวัยที่กำลังเจริญเติบโต คือ อายุระหว่างแรกเกิดจนถึง 5 ปี ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของอนาคตแล้ว ก็ยิ่งเป็นปัญหาที่เลวร้ายมากที่สุด การ ขาดสารอาหารในวัยเด็กจะทำให้เกิดความชะงักของการเจริญเติบโตเด็กจะ แคระแกร็น ส่งผลกระทบต่อระบบสมอง เนื่องจากมีการค้นพบว่า สมองของ คนเราจะเจริญอย่างรวดเร็วถึง90% ในช่วง 2 ปีแรกของชีวิต ต่อจากนั้นจะ เจริญต่อไปจนอายุ 5 ปีหากช่วงอายุดังกล่าวเด็กได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน นอกจากร่างกายเจริญเติบโตไม่ดีแล้ว สมองก็จะเจริญเติบโตไม่เต็มที่ด้วย
หลักการจัดอาหารที่เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก
     หลักการจัดอาหารที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก ดังนั้นผู้เลียงดูเด็กควรคำนึงถึงการจัดอาหารให้เหมาะสมกับสภาพและวัยของแต่ละบุคคลโดยคำนึงถึงความต้องการสารอาหาร ประโยชน์ที่จะได้รับจากสารอาหาร ปริมาณของอาหารที่ควรได้รับ และพิษภัยของอาหาร เด็กที่ได้รับอาหารที่ดีมีคุณภาพ ได้รับอาหารเพียงพอ มีสารอาหารคบถ้วนตามความต้องการ จะมีสุขภาพอนามัยทีสมบูรณ์ มีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ เป็นปกติ แต่หากเด็กคนใดไม่ได้รับอาหารที่ดี ไม่เพียงพอ อาหารไม่มีคุณภาพ จะเกิดภาวะขาดสารอาหาร สุขภาพอนามัยไม่สมบูรณ์ รูปร่างแคระแกร็น เติบโตช้า พัฒนาการไม่สมวัย สภาพร่างกายผิดปกติ ส่งผลให้พฤติกรรมผิดปกติไปด้วย 



ข้อปฏิบัติในการจัดเตรียมอาหาร
1) ให้กินอาหารหลักให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสะอาดและปลอดภัย 
2) ควรจัดอาหารให้มีปริมาณไขมัน โดยเลือกใช้น้ำมันที่มีคุณภาพดี เช่น น้ำมันจากพืช เช่น ข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย ปลาทะเล หลีกเลี่ยงน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ให้เด็กได้รับไขมันในสัดส่วน 30% ของอาหารที่ให้พลังงานในแต่ละวัน และให้ได้รับน้ำนมวัวละ  2-4 แก้ว กินไข่ได้วันละ 1 ฟอง 
3) ควบคุมความหวานหรือใส่น้ำตาลแต่พอควร ไม่ควรตามใจเด็กให้กินอาหารหวานมากจนกลายเป็นนิสัยทำให้เกิดโทษ เช่น ฟันผุ หากเด็กได้รับน้ำตาลมากเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจสะสมทำให้มีการสร้างไนโตรกลีเซอไรด์เพิ่มมากขึ้น เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือเกิดเป็นโรคเบาหวานได้ ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเลือกอาหารประเภทธัญญาพืชและแป้งจากธรรมชาติให้มากที่สุด เมื่อร่างกายได้รับแล้วสามารถย่อยเป็นน้ำตาลนำมาใช้เป็นพลังงานได้ 
4) ให้กินอาหารที่มีเส้นใยเพื่อให้มีกากอาหารมากพอที่จะขับถ่ายออกมาได้สะดวก เช่น ผัก ผลไม้ที่กินได้ทั้งเปลือก รสไม่หวานจัด เพื่อให้เด็กท้องไม่ผูก ป้องกันโรคริดสีดวง 
5) ไม่ใช้สารปรุงรส เช่น เกลือ น้ำปลา หรืออาหารที่มีความเค็มจัดแก่เด็ก เพราะจำทำให้เด็กเกิดความเคยชิน กินอาหารรสเค็มจัดอาจทำให้เด็กเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ ควรให้เด็กกินอาหารรสชาติให้มากที่สุด โดยไม่ต้องปรุงแต่งจนมากเกินพอดี
6) ควรจัดเปลี่ยนอาหารบ่อย ๆ อย่าให้ซ้ำซากจำแจ เพราะเด็กจะเบื่อและเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีกับอาหารนั้นไปจนโต 
หลักการจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย
      เด็กปฐมวัยกำลังอยู่ในวัยที่ต้องการอาหารที่เหมาะสมกับพัฒนาการ ของร่างกายที่กำลังเจริญเติบโตเต็มทหมายความว่าการที่เด็กจะมี น้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้น อย่างได้สัดส่วนกับอายุจะสามารถพัฒนา ร่างกายและเซลล์ในสมองของเด็กได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้มีสมรรถ- ภาพ ในการรับรู้และการเรียนรู้ได้อย่างดี ต่างจากเด็กที่ขาดอาหาร ได้อาหารไม่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย ผู้เลี้ยงดูเด็กจึง ควรเน้นในเรื่องของการจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสม สำหรับเด็ก ปฐมวัยอย่างแท้จริง และจัดให้บริการอาหารแก่เด็กปฐมวัยได้ถูก ต้องตามหลักโภชนาการและมีอนามัย เพื่อให้เด็กได้เติบโตอย่างมี คุณภาพในลำดับต่อไป หลักในการจัดเตรียมอาหาร ผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรคำนึง หลักการจัดเตรียมอาหารที่จะสามารถให้ประโยชน์แก่ เด็กได้อย่างเต็มที่ โดยใช้งบประมาณที่เหมาะสมการจัดการที่สอด คล้องกับสภาพพื้นที่โดยยึดหลักดังนี้ 


ประเมินอาจารย์  ::  เข้าตรงตามเวลา สอนเข้าใจง่าย
ประเมินเพื่อน  ::  เพื่อนๆตั้งใจเรียน
ประเมินตนเอง  ::  เข้าใจเรื่องที่เรียน 


ความคิดเห็น